งานเทศกาลหิมะที่เมืองซัปโปโร (Sapporo Yuki Matsuri) หรือ Supporo Snow Festival นับเป็นเทศกาลฤดูหนาวสุดปังประจำปีของเมืองซัปโปโร จัดขึ้นทุกปีที่ดังมากๆ เรียกได้ว่า ถ้าพูดถึงเทศกาลฤดูหนาวของญี่ปุ่นต้องนึกถึงงานนี้เป็นอันดับแรกๆ ที่มีนักท่องเที่ยวให้ความสนใจและเดินทางมา ทัวร์ญี่ปุ่น กันมากในทุกปี และจะมีนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นเริ่อยๆด้วย
งานแข่งขันแกะสลักหิมะที่เก่าแก่ก็ต้องเป็นที่เมืองซัปโปโร ประเทศญี่ปุ่น เกิดขึ้นครั้งแรก ในช่วงปี พ.ศ.2493 เริ่มต้นจากกลุ่มนักเรียนมัธยมในเมืองซัปโปโรออกมาปั้นหิมะเล่นกันในสวนโอโดริ ในช่วงพักกลางวัน จนกลายเป็นจุดสนใจ และมีชาวเมืองออกมาร่วมปั้นด้วยอย่างเป็นการเป็นงาน ต่อมาการปั้นหิมะได้รับการส่งเสริม ต่อมาการปั้นหิมะก็ได้รับการส่งเสริมจากภาคธุรกิจเอกชน และองค์กรส่วนท้องถิ่นให้ยกระดับขึ้นเป็นกิจกรรมประจำปีในปี พ.ศ.2498 มีกำหนดจัดขึ้น ในช่วงต้นเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปีที่สวนสาธารณะโอโดริ กลางเมืองซัปโปโร ทุกวันนี้มีนักท่องเที่ยวทั้งชาวญี่ปุ่นและชาวต่างชาติเดินทางมาเข้าร่วมเดินทางมาทัวร์ญี่ปุ่นเที่ยวชมงาน มากกว่า 2 ล้านคน จึงถือได้ว่าเป็นงานเทศกาลหิมะที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของญี่ปุ่น ในปัจจุบัน
เทศกาลหิมะที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของเกาะฮอกไกโด มีผู้คนจากทั่วโลกให้ความสนใจ ต่างเดินทางมาร่วมงานกว่า 2 ล้านคน โดยจะจัดขึ้นเป็นเวลา 1 สัปดาห์ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี ไฮไลท์ที่ทุกคนรอคอยคือการชมประติมากรรมน้ำแข็ง ซึ่งประเทศไทยก็ได้เข้าร่วมการแข่งขันและคว้าแชมป์สมัยที่ 8 มาได้ในปี 2019 ที่ผ่านมา
ถามว่าทำไมประเทศไทยไม่มีหิมะ แต่ทำไมได้แชมปฺ์แกะสลักน้ำแข็งชนะเลิศ 10 สมัยซ้อน ผู้เข้าแข่งขันทีมไทยมีการเตรียมตัวอย่างไรบ้าง ใช้อุปกรณ์อะไรบ้างในการสร้างผลงาน ใช้ทีมงานทั้งหมดกี่คน มีประสบการณ์แค่ไหน เรามาอ่านบทสัมภาษณ์จาก คุณกุศล บุญกอบส่งเสริม จากโรงแรมแชง-กรีล่า คุณกฤษณะ วงศ์เทศ นักแกะสลักอิสระ และคุณอำนวยศักดิ์ ศรีสุข หรือพี่เซ็ง ครีเอทีฟไดเรกเตอร์ จากโรงแรมแกรนด์ไฮแอท เอราวัณ ที่จะมาบอกเล่าเรื่องราวประสบการณ์การแข่งขันแกะสลักน้ำแข็งชิงแชมป์โลก จากนี้ไปให้ทุกๆท่านได้ทราบกันไปอ่านบทสัมภาษณ์เบื้องหลังกว่าจะได้เห็นผลงานแกะสลักน้ำแข็งของทีมงานไทยกันเลย
- มาแข่งขันแกะสลักที่งานซัปโปโรได้อย่างไร
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) จะเฟ้นหาคนที่แข่งแกะสลักได้เหรียญระดับประเทศ แล้วทาบทามให้รวมตัวมาแข่งให้มาช่วยกันเป็นทีม
- ประสบการณ์ในการแข่งขันเป็นอย่างไร
เรามีประสบการณ์การแกะสลักอยู่แล้ว เมื่อเรามีโอกาสได้ไป มันก็เป็นโอกาสที่ดีที่น่าลองและ
ไม่ควรทิ้งโอกาสนี้ไป เลยมีการรวมตัวเป็นทีมขึ้นแล้วไปร่วมแข่งขันทันทันที
- มีการเตรียมตัวอย่างไรบ้าง
ตอนนั้นเราไปแบบไม่มีอะไรเลย ทั้งอุปกรณ์ที่เราเตรียมไปเท่าที่เรามีเราหาได้ เสื้อผ้าเครื่องแต่งกายไปซื้อหาเพิ่มเติมที่นั่นกันเพราะไปกันแบบกระทันหันทันทีทันใดเลยทำให้เราไปกันแบบเตรียมตัวกันแทบไม่ทันเลยทีเดียว ส่วนเครื่องมือที่เราเตรียมไปนั้น เราก็ไม่รู้เลยว่าจะใช้ได้ไหมหรือจะใช้งานได้มากน้อยแค่ไหน จำได้ว่าที่พกไปก็มีสิ่วที่ใช้แกะสลักคือสมัยก่อนสิ่วทำมาจากด้ามเหล็ก เมื่อเราต้องทำงานสู้กับอากาศหนาวติดลบขนาดนี้ แล้วต้องมาถือด้ามจับที่เป็นเหล็กอีก มันเลยค่อนข้างทำงานลำบาก เพราะทีมงานเราก็ต่างไม่คุ้นชินเลยกับอากาศหนาวมากกว่าปกติซึ่งยากมากที่ร่างกายเราจะปรับตัวได้ทันก็ต้องใช้เวลาในการต่อสู้อดทนในการทำงานกันมากเลยทีเดียว สิ่งสำคัญมากที่เราต้องเตรียมให้พร้อม ก่อนไปแข่ง คือ โมเดลชิ้นงานต้นแบบงานแกะสลักของเรานั่นเอง เราต้องมีการคิดงานว่าเราจะสร้างผลงานอะไร รจะทำมีรายละเอียดเล็กๆน้อยๆตรงไหนบ้าง เราก้อสร้างโมมเดลขึ้นมา เพื่อให้ง่ายต่อการแกะสลัก เมื่อถึงเวายละเอียดของงานที่เราลาทำงานจริงๆ ทีมงานแต่ละคนจะได้ทำงานไม่ช้าใครรับผิดชอบ ส่วนไหนก็ว่ากันไปรับผิดชอบกันไป ส่วนเครื่องมือที่ทำเรามีการเตรียมกันไปเองด้วย เพราะแต่ละคนก็จะมีเครื่องมือที่ใช้ถนัดแตกต่างกันไปก็จะเอากันไปเอง แต่บางอย่างที่เราไม่มีที่นั่นก็มีเตรียมให้เราใช้บ้าง
- ทีมงาน การทำงานเป็นทีม มีความสำคัญอย่างไร มากน้อยแค่ไหน
การทำงานเป็นทีมนั้นสำคัญมาก ถ้าคนในทีมไม่เข้าขากัน อาจทำงานด้วยกันยาก เพราะการทำงานใช้ระยะเวลานาน ในการแข่งขันแกะสลักหิมะจะถูกแบ่งออกเป็นทีม ทีมละ 3 คน โดยมีตัวแทนจาก 11 ประเทศเข้าร่วม เช่น อินโดนีเซีย ฟินแลนด์ ออสเตรเลีย โปแลนด์ ฯลฯ ซึ่งแต่ละทีมจะต้องแกะสลักบล็อกหิมะทรงลูกบาศก์ขนาด 3 เมตร โดยใช้เวลาภายใน 4 วัน แต่ละคนในทีมจะมีหน้าที่ต้องรับผิดชอบของตัวเอง ซึ่งจะมีการจัดแบ่งเวลาในการพักการทำงานให้ทุกคน ดังนั้น ทุกคนในทีมต้องประสานงานกันเป็นทีมเวิร์กเพื่อให้ได้ผลงานที่ดีออกมา
- ใครเป็นคนกำหนดหัวข้องานแกะสลัก
หัวข้อในการแกะสลักนั้นทาง ททท. จะกำหนดมา และให้ทีมงานทำการออกแบบดีไซน์กันเอง และมีการพูดคุยแสดงความคิดเห็นกันก่อนว่าทาง ททท. อยากได้แบบไหน ใส่รายละเอียดงานตรงไหนบ้าง เราก็จะมัการแนะนำและดูว่าสามารถทำได้หรือไหม ถ้าทำแล้วอาจทำให้ผลงานเกิดความเสียหายหรือโค่นหักได้ เราก็็จะต้องแจ้งให้ทาง ททท. ทราบ
- การดีไซน์ ออกแบบอย่างไร
เราจะมีการสเก็ตรูปกันก่อนว่าเราต้องการให้ออกมาแบบไหนรายละเอียดเล็กๆน้อยเก็บหมด ส่วนไหนเน้นความเด่นชัด เราก็จะนั่งคุยกันออกแบบจนกว่าจะเป็นที่น่าพอใจ ก่อนจะถึงวันไปญี่ปุ่นทั้ง สามคนก็ต้องหาวันมานั่งคุยกันก่อนเพราะว่าทำงานกันคนละที่และมาร่วมกันแกะโมเดลที่จะนำไปเป็นแบบในการแกะสลักหิมะที่ญี่ปุ่นก่อน โดยเราจะแกะเป็นโมเดลเล็กๆด้วยโฟม ขนาด 30 X 30 เซนติเมตร แล้วค่อยนำไปขยายแบบ 1 ต่อ 100 ในการแกะสลักของจริง
- เมื่อเมืองไทยไม่มีหิมะแบบนี้ มีการฝึกซ้อมกันอย่างไร
ทักษะการแกะสลักของเราทุกคนมีกันอยู่แล้ว อีกทั้ง ยังมีพื้นฐานการวาดรูปทักษะการแกะสลักก็ได้ฝึกจากงานที่ทำอยู่ทุกๆวันอยู่แล้ว เช่น แกะสลักน้ำแข็ง แกะโฟม แกะช็อกโกแลต การทำงานก็เหมือนกับการซ้อมไปในตัว ดังนั้น การไปแข่งขันในแต่ละปีถือเป็นการสร้างเสริมประสบการณ์เพิ่มขึ้นทุกครั้ง ทำให้เรารู้ว่าครั้งต่อไปเราจะต้องเตรียมตัวอย่างไร
- ความแตกต่างในการแกะสลักหิมะ กับ การแกะสลักน้ำแข็ง แตกต่างกันหรือไม่
การแกะสลักหิมะนั้นใกล้เคียงกับการแกะสลักน้ำแข็งซึ่งความยากง่ายนั้นมันขึ้นอยู่ที่อุณหภูมิของภูมิอากาศมากกว่า อุณหภูมิที่กำลังดีจะอยู่ที่ประมาณ -8 องศาเซลเซียส แต่ถ้าอุณหภูมิเปลี่ยนแปลงมากน้อยไปกว่านี้ก็จะเริ่มมีผลต่อผลงานของเรา ยิ่งอากาศประมาณ -2 องศาเซลเซียสก็ถือว่าแย่มากๆ เพราะถ้าอากาศอุ่นหรือร้อนไปหิมะจะละลายเรื่มกลายเป็นน้ำอาจทำให้เราแกะไม่ได้
แต่ในปี 2558 ที่เราแข่งแกะสลักหิมะ ชื่อ รถตุ๊กตุ๊ก ตอนนั้นอากาศแย่มาก แต่เราโชคดีที่แก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้ ซึ่งในปีนี้ผลงานของเราชิ้นนี้ก็ได้แชมป์ด้วย
- ประเทศไทยเริ่มเป็นตัวเต็งในการแข่งแกะสลักหิมะเมื่อไหร่
งานศิลปะของประเทศไทย เป็นงานที่มีความละเอียดอ่อน เวลาไปแข่งกันชาติอื่นเห็นก็จะแซวกันเล่นๆว่าพวกเรา Grand Champion เพราะทีมไทยแข่งขันแกะสลักนับว่าเป็นประเทศที่ครองแชมป์มากที่สุด มีผลงานอะไรบ้างนั้นมาดูกันเลย
ผลงานแกะสลักรูปช้าง ่(พ่อแม่ลูก) ชื่อ Family ปี พ.ศ.2552
ผลงานแกะสลักรูปครุฑยุดนาค ชื่อ Guruda and Naga ปี พ.ศ.2553
ผลงานแกะสลักรูปไกรทองสู้กับสาละวัน ปี.พ.ศ 2553
ผลงานแกะสลักรูปช้างวาดรูป ปี 2556
ผลงานแกะสลักรูปรถตุ๊กตุุ๊ก ชื่อ The Ubiquitous TUK-TUK ปี พ.ศ.2558
ผลงานแกะสลักรูปไก่ชน 2 ตัว พ.ศ. 2559
ผลงานแกะสลักรููปปลากัด พ.ศ, 2562
ทีมนักแกะสลักหิมะชาวไทยที่สร้างสรรค์ผลงาน “ปลากัด” สัตว์น้ำประจำชาติ สะท้อนวิถีชีวิตริมน้ำของคนไทย เผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมไทยไปสู่สายตานักท่องเที่ยวนานาชาติ ในงาน “International Snow Sculpture ครั้งที่ 46” จัดขึ้นภายใต้เทศกาลหิมะ “Sapporo Snow Festival ครั้งที่ 70 ซึ่งเป็นเทศกาลหิมะที่ใหญ่ที่สุดของญี่ปุ่น ในวันที่ 3-7 กุมภาพันธ์ 2562 ณ เมืองซัปโปโร จังหวัดฮอกไกโด ประเทศญี่ปุ่น
ผลงานแกะสลักชิ้นล่าสุด รูปเต่า พ.ศ. 2563
และเป็นที่แน่นอนว่าแชมป์ล่าสุดในปี 2020 หนีไม่พ้น ทีมนักแกะสลักหิมะชาวไทย ที่ สร้างสรรค์ผลงาน “Future in our hands” สะท้อนอนาคตสัตว์ทะเลขึ้นที่ทุกคนต้องดูแลรับผิดชอบและส่งเสริมการท่องเที่ยวในรูปแบบอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ภายในงาน “International Snow Sculpture ครั้งที่ 47” จัดขึ้นภายใต้เทศกาลหิมะ “Sapporo Snow Festival ครั้งที่ 71 ซึ่งเป็นเทศกาลหิมะที่ใหญ่ที่สุดของญี่ปุ่น ณ เมืองซัปโปโร จังหวัดฮอกไกโด ประเทศญี่ปุ่น
- เกณฑ์การตัดสินแพ้ชนะ
โดยปกติดูเรื่องคอนเซ็ปต์ การดีไซน์ การจัดวางองค์ประกอบ ความสวยงามและความละเอียดอ่อน ความตั้งในการทำงานทีมงานให้คว่ามสำคัญ ในเรื่องรายละเอียดซึ่งประเทศอื่นอาจดูมีรายละเอียดมากว่าเราอีก แต่การตัดสินของกรรมการอาจวัดจาก ผลงานที่เราทำได้แรงบรรดาลใจยัง กรรมการอาจตัดสินตรงที่เราตีตวามหมายของผลงานออกมาได้ดีมากกว่า
( ภาพเบื้องหลังการทำงานของทีมงานแกะสลักคนไทย )
ประเทศไทยได้แชมป์แกะสลักหิมะ อันดัที่ 1 ปี 2020 ณ เมืองซัปโปโร ประเทศญี่ปุ่น
ได้รับรางวัล 3 ปีซ้อน กลายเป็น Grand Champion : ผลงานชุด Future in our hands
สรุปผล : การแข่งขันแกะสลักหิมะ “Sapporo International Snow Sculpture”
( ครั้งที่ 47 )
รางวัลอันดับที่ 1 ทีมประเทศไทย ชื่อผลงาน “Future in our hand”
รางวัลอันดับที่ 2 ทีมประเทศอินโดนีเซีย ชื่อ “Orang Utan the Endangered Habitat”
รางวัลอันดับที่ 3 ทีมประเทศฟินแลนด์ ชื่อผลงาน “THE SPIRAL”
รางวัลอันดับที่ 4 ทีมประเทศสิงคโปร์ ชื่อผลงาน “XYZ Star”
รางวัลอันดับที่ 5 ทีมมาเก๊า (สาธารณรัฐประชาชนจีน) ชื่อผลงาน “Galloping”
ผลงานชิ้นโบแดง (รูปเต่า) มีชื่อว่า Future in our hands
ชนะเลิศอันดับที่ 1 สร้างชื่อเสียงให้ประเทศไทยอีกครั้ง ปี 2020
ถือเป็นความภาคภูมใจของเราชาวไทย
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย หรือ (ททท.) เชื่อมั่นว่า ผลงาน “Future in our hands” จะช่วยตอกย้ำถึงความสามารถช่างแกะสลักของคนไทย ถือเป็นระดับแนวหน้าของโลก เป็นการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้แก่ประเทศ ที่จะช่วยส่งเสริมให้นักท่องเที่ยวญี่ปุ่นเดินทางมากับ ทัวร์ญี่ปุ่น และหันเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทยเพิ่มมากได้อย่างแน่นอน
จากผลงานที่เราได้ชมไปนั้น มันช่างดูอลังการงานสร้างแถมผลงานที่ทำออกมาแต่ละชิ้นเป็นผลงานที่สร้างชื่อเสียงให้กับประเทศไทย บางท่านคงที่ส่งแรงเชียร์ และคงใจจดใจจ่อรอดูผลงานที่ทำเสร็จออกมารวมทั้งรอลุ้นผลการตัดสิน ซึ่งในวันนี้เราจะพาทุกท่านย้อนดูผลการตัดสินที่ประเทศไทยได้แชมป์อันดับ 1 มีผลงานรูปแบบเป็นอย่างไร แข่งขันช่วงปีไหน เราจึงนำภาพมาประกอบพร้อมบอกข้อมูล เพื่อให้ท่านดูและเข้าใจมากขึ้น
ส่วนนักท่องเที่ยวที่ชอบเที่ยวต่างประเทศหรือชอบเดินทาง ทัวร์ญี่ปุ่น ไปเมืองที่มีอากาศหนาวมีหิมะตก อย่างเช่น เมืองซัปโปโร ก็คงเป็นอีกทางเลือกหนึงที่น่าไป ทว่าคิดไปคิดมาเที่ยวงานเทศกาลนี้เหมือนได้รับรางวัลสองเด้งเลยได้ทั้งเที่ยวที่ที่อยากไป แถมได้ชมงานเทศกาลแข่งแกะสลักหิมะ ที่มีคนไทยไปแข่งขันแล้วชนะกลับมา ถือเป็นความภาคภูมิใจสำหรับชาวไทยเป็นอย่างยิ่ง อีกทั้งยังเป็นโอกาสที่ดีที่ได้ชมผลงานของจริง ถ้าได้ไป ทัวร์ญี่ปุ่น ในช่วงที่มีเทศกาลอย่างนี้มันคุ้มแสนคุ้มจริงๆ ไปเที่ยวที่นี่ทีไรก็ยังคงได้รับความสุข ความสนุก และยังได้ตื่นตาตื่นใจทุกครั้งที่ได้ไปแน่นอน
สุดท้ายนี้ เราขอเป็นตัวแทนชาวไทยที่อยากกล่าวคำขอบคุณแกนนำหลักสำคัญอย่าง ททท.ที่หากิจกรรมที่ดีๆผลักดันกิจกรรมที่ดีและช่วยส่งเสริมสนับสนุนการทำงานให้เกิดพี่ๆทีมงานแกะสลักทุุกคนที่ทำหน้าที่เป็นตัวแทนชาวไทยทุกคนออกไปแข่งขันสร้างสรรค์ผลงานที่สวยงามโลกประจักและที่สำคัญยังสร้างชื่อเสียงให้กับประเทศไทยได้ภาคภูมิใจกัน ดังนัั้น เราคงต้องหยิบคำนี้ขึ้นมาแล้วผงาดพูดขึ้นมาได้อย่างสมศักดิ์ศรีกันเลยว่า คนไทยไม่แพ้ชาติใดในโลก และขอขอบคุณบทสัมภาษณ์จากพี่ๆที่มา แชร์ประสบการณฺ์เล่าเรื่องราวต่างๆ และแง่คิดดีๆ ให้เราได้รู้ มันเป็นเรื่องที่น่ายินดี และถือเป็นประโยชน์ และเป็นตัวอย่างให้ใครหลายคนอีกด้วย